วิธีวัดไข้ช่วง “โควิด-19” ระบาด

วิธีวัดไข้ช่วง “โควิด-19” ระบาด

ช่วงไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด เราคงต้องวัดไข้กันบ่อยหน่อย เราสามารถวัดไข้ได้เองที่บ้านด้วยปรอทวัดไข้ที่สามารถหาซื้อเองได้ที่ร้านขายยาทั่วไป หากมีไข้เกิน 37.5 องศาเซลเซียสก็มีความเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะเสี่ยงโควิด-19 (ประกอบกับอาการอื่นๆ ด้วย เช่น เจ็บคอ ไอ จาม น้ำมูกไหล และหายใจเหนื่อยหอบ)

ทั้งนี้ หากคิดจะวัดไข้เองเบื้องต้นแล้ว เรามาวัดไข้ให้ถูกวิธีกันดีกว่า เพราะหากวัดไข้ไม่ถูกวิธี ผลที่ได้อาจจะคลาดเคลื่อนได้

อุปกรณ์วัดไข้

ปรอทแก้ว แม่นยำ หาซื้อง่าย ราคาย่อมเยา แต่แตกง่าย อ่านค่ายาก ก่อนใช้ต้องสะบัดให้ค่าอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียสก่อน

ปรอทดิจิตอล สะดวก รวดเร็ว มีเสียงแจ้งเตือนเมื่อวัดไข้เสร็จ อ่านค่าง่าย แต่ถ้าโดนน้ำ หรือตก อาจพังได้

วิธีวัดไข้

แถบวัดไข้ สะดวก รวดเร็ว แต่ค่าอาจเคลื่อนได้ง่าย

อุณหภูมิเท่าไร ถึงมีไข้
อุณหภูมิปกติของคนเราอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ถ้าวัดอุณหภูมิได้เกิน 37.5 องศาเซลเซียสทางปาก รักแร้ หู หรือ เกิน 38 องศาเซลเซียสทางทวารหนัก แสดงว่ามีไข้

วิธีวัดไข้ช่วง “โควิด-19” ระบาดอย่างไรให้ถูกต้อง

รักแร้

เหมาะกับ: ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก

วิธีวัดไข้: สอดปรอทให้ส่วนหัวสีเงินสอดเข้าไปในรักแร้ พับแขนหนีบปรอทเอาไว้ 2-3 นาที

ข้อควรระวัง: หากวัดในเด็กเล็กระวังอย่าให้เด็กขยับตัวมาก เพราะอาจทำให้ได้ผลคลาดเคลื่อนได้ (ไข้ต่ำกว่าที่เป็นอยู่จริง)

รูหู

เหมาะกับ: เด็กเล็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะมีขนาดรูหูใหญ่มากพอที่แสงอินฟาเรดจะยิงเข้าไปถึงเยื่อแก้วหู

วิธีวัดไข้: ใช้เครื่องวัดไข้แบบแสงอินฟาเรดยิงเข้าไปในรูหู โดยดึงใบหูไปทางด้านหลังเล็กน้อยเพื่อให้รูหูตรง วัดครั้งละ 2-3 วินาที แล้ววัด 2 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย

ข้อควรระวัง: อาจมีค่าคลาดเคลื่อนได้หากเด็กมีขี้หูปิดรูหูไว้

ใต้ลิ้น

เหมาะกับ: เด็กเล็กที่อายุมากกว่า 5 ขวบ เพราะอาจผมปรอทไม่เป็น และอาจกัดปรอทแตกได้ แต่เป็นวิธีที่นิยมสำหรับผู้ใหญ่เพราะให้ผลค่อนข้างชัดเจน และแม่นยำในระดับหนึ่ง

วิธีวัดไข้: อมปรอทให้ส่วนหัวสีเงินอยู่ใต้ลิ้น เพราะเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดจำนวนมาก จะทำให้ได้อุณหภูมิที่ถูกต้องที่สุด อมปรอทไว้นานเกิน 3 นาที

ข้อควรระวัง: ขณะวัดปรอทไม่ควรหายใจทางปาก และไม่ควรดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก่อนวัดปรอท 10-15 นาที

ทวารหนัก

เหมาะสม: เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี

วิธีวัดไข้: วิธีนี้ได้จะได้อุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายมากที่สุด โดยเอาวาสลีนทาที่ปลายปรอท แล้วใส่เข้าไปที่ทวารหนัก ลึก 1 นิ้ว นาน 2 นาที ขณะวัดไข้จับปรอทไว้ให้แน่นอย่าให้ขยับไหลลึกเข้าไป

ข้อควรระวัง: ต้องทำอย่างถูกวิธี เพราะอาจเกิดแผลฉีกขาดได้

ผิวหนัง

เหมาะสม: ทุกเพศทุกวัย

วิธีวัดไข้: เช็ดหน้าผากให้แห้ง ใช้แถบวัดไข้แปะหน้าผากนาน 15 วินาทีจนตัวเลขขึ้น

ข้อควรระวัง: ผลของการวัดไข้อาจคาดเคลื่อนได้ง่าย

หากมีไข้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส แนะนำให้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ สามารถรับประทานยาลดไข้ได้ หากไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน ควรพบแพทย์

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (อินฟราเรด) BeneTech รุ่น GM1150

BeneTech รุ่น GM1150 เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส Infrared เทอร์โมมิเตอร์ อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ อินฟราเรด

  • วัดอุณหภูมิได้สูงสุด 1150 องศาเซลเซียส
  • ปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งาน
  • แจ้งเมื่อระดับแบตเตอรี่ต่ำ
  • จอแสดงผลแบบ LCD พร้อมไฟส่องจอ Backlight
  • ฟังชั่น MAX/MIN/AVG/DIF
  • ตั้งค่า Alarm HI/LO
  • ฟังชั่นบันทึกข้อมูลและเรียกดูข้อมูล
  • เปลี่ยนหน่วยการวัด ℃ หรือ ℉
  • ฟังชั่นหยุดหน้าจอเพื่ออ่านค่า DATA HOLD
  • Laser Target Pointer selection
  • ยี่ห้อสินค้า BENETECH รุ่น GM1150

Note: ค่า Emissivity (ε) หรือค่าสัมประสิทธิ์ของการแผ่รังสี

ค่าสัมประสิทธิ์ของการแผ่รังสีเป็นค่าคงที่ของวัสดุโดยเป็นอัตราส่วนของ ความร้อนที่ปล่อยออกมาของวัตถุเมื่อเทียบกับวัตถุที่มีสีดำ (Black Body) โดยมีค่าอยูู่ระหว่าง 0-1 โดยที่วัตถุดำ (ดูดรังสีความร้อนทั้งหมด) จะมีค่าสัมประสิทธิ์ของการแผ่รังสีเป็น 1 และวัตถุที่สะท้อนความร้อนอย่างสมบูรณ์แบบ (ไม่ดูดรังสีความร้อนเลย) จะมีค่าค่าสัมประสิทธิ์ของการแผ่รังสีเป็น 0

ด้วยหลักการของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ infrarad หรือ IR  หลักการของการวัดก็คือเครื่องจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการแผ่รังสีของพื้นผิว วัตถุ แล้วแปลงค่าออกมาเป็นตัวเลขอุณหภูมิ เพราะฉนั้น Infrarad Thermometer แสงเลเซอร์มีใช้สำหรับกำหนดเป้าหมายบริเวณที่กำลังตรวจวัดการแผ่รังสีออกมา เท่านั้น ทีวัตถุหรือพื้นผิวแต่ละชนิดก็มีความสามารถในการแผ่รังสีต่างกันเช่นวัตถุสี ดำจะแผ่รังสีได้ดีว่ากว่าวัตถุสีขาวเป็นต้น เพราะฉนั้นพื้นผิวสีดำจะรับความร้อนหรือแผ่ความร้อนหรือรังสี Infrarad ได้ดีกว่าพื้นผิวสีขาวทำให้ถ้าเราวัดอุณหภูมิด้วย Infrarad Thermometer ที่อุณหภูมิเดียวกัน พื้นผิวสีขาวจะให้ค่าอุณหภูมิที่วัดได้ต่ำกว่าสีดำทำให้การวัดผิดพลาด ด้วยเหตุผลดังกล่างค่า ε เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความถูกต้อง (accuracy) ของการวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด ดังนั้นเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบ IR ที่ดี ควรมีการปรับค่า Emissivity ที่เครื่องได้ เพื่อที่จะสามารถนำไปวัดอุณหภูมิที่พื้นผิวได้หลายๆแบบ

 

MATERIAL EMISSIVITY MATERIAL EMISSIVITY
Aluminum 0.3 Iron 0.70
Asbestos 0.95 Lead 0.5
Asphalt 0.95 Limestone 0.98
Basalt 0.70 Oil 0.94
Brass 0.5 Paint 0.93
Brick 0.90 Paper 0.95
Carbon 0.85 Plastic 0.95
Ceramic 0.95 Rubber 0.95
Concrete 0.95 Sand 0.90
Copper 0.95 Skin 0.98
Dirt 0.94 Snow 0.90
Frozen food 0.90 Steel 0.80
Hot food 0.93 Textiles 0.94
Glass(Plate) 0.85 Water 0.93
Ice 0.98 Wood 0.94

 

Features เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (อินฟราเรด) Benetech รุ่น GM1150:

1) Non-contact accurate temperature measuring tool

2) MAX/MIN/AVG/DIF reading

3) High/Low Temperature alarm setup

4) Data Store/Recall Function

5) Data Hold function

6) Celsius/Fahrenheit Selection

7) Laser pointer for accurate target aiming

8) Low power indication

9) Auto power off

10) LCD screen with backlight design enables you to get data easily and clearly even in the dark

11) Simple One-Handed operation

12) Lightweight and compact

Specifications เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (อินฟราเรด) Benetech รุ่น GM1150:

1) Brand Model: BENETECH GM1150

2) Color:As Pictures Shown

3) Size: 200*60*141mm

4) Temperature range: -50℃ ถึง 1150℃ (-58℉ ถึง 2102℉)

5) Accuracy: ±1.5% or ±1.5°C

6) Distance Spot Ratio: 20:1

7) Emissivity:0.10-1.00 Adjustable

8) Power: 1*9V Alkaline Battery(Included)

9) Weight:386g

10) Package Dimensions:230 *137*82mm

เครื่องวัดอุณหภูมิอาหาร เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิแบบเสียบและจุ่ม เครื่องวัดอุณหภูมิ สีขาว Digital Thermometer TP300

Digital Food Thermometer TP300 Kitchen Oven BBQ Cooking Meat Milk

คุณสมบัติ

ทำจากวัสดุ ABS และสเตนเลส ทนทาน ปลอดภัย
วัดอุณหภูมิได้ระหว่าง -50c ถึง +300c หรือ -58F ถึง +572F
เครื่องวัดอุณหภูมิมีความละเอียด : 0.1degree หรือ 0.1f
เครื่องวัดอุณหภูมิมีความถูกต้อง : + – 1degree หรือ + – 1 F
ตัวเลือกหน่วย temprature : C/ F
จดจำการวัดครั้งล่าสุด
ปิดอัตโนมัติ เมื่อไม่ได้ใช้ 10 นาที
เครื่องวัดอุณหภูมิทำจากวัสดุ : สแตนเลสเหล็กและพลาสติก ABS
ปุ่ม : ON / OFF องศา / F, แสงเตือน
แหล่งจ่ายไฟ : 1pcs แบตเตอรี่ 1.5V เซลล์ LR44/AG13 (รวม)
สัญญานเตือนเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด
เครื่องวัดอุณหภูมิขนาด : 22.5 c.m
เครื่องวัดอุณหภูมิสี : สีดำ

Stainless steel probe high precision rapid temperature measurement: pen thermometer, hot oil multi-function, low energy consumption, high stability, high accuracy can quickly measure the cold and hot temperatures
Celsius / Fahrenheit a key switch: multi-function display, Celsius, Fahrenheit function switch
LED display with temperature memory and temperature to keep the function and save mode: LED display, clear, remember the maximum and minimum over the same period. And can maintain the temperature data.
Temperature range: -50Celsius to +300Celsius or -58 Fahrenheit to +572 Fahrenheit
Resolution: 0.1Celsius or 0.1Fahrenheit
Accuracy: +/- 1Celsius or +/- 1 Fahrenheit
Optional temprature unit: Celsius / Fahrenheit
Buttons: ON/OFF, Celsius/ Fahrenheit, HOLD
Power Supply: 1 x 1.5V LR44/AG13 battery (included)
Power Saving: Auto power off after 15 minutes
Data hold function
Weight: 20g
Display Size: 20cm*35cm / 7.87 inch *13.78inch (Approx.)
Total Length: 24.5cm/ 9.64 inch (Approx.)
Probe Length: 14.5cm/ 5.7inch (Approx.)
Color: Black+white
Material: Stainless Steel & Plastic

ทำความรู้จักปืนวัดอุณหภูมิ Infrared Thermometer

ทำความรู้จักปืนวัดอุณหภูมิ Infrared Thermometer

Infrared Thermometer เรามีความต้องการจะวัดสิ่งของหรือวัตถุ จะมีเครื่องวัดอุณหภูมิที่จำเพาะหรือไม่ คำตอบคือมี สิ่งเครื่องวัดอุณหภูมิดังกล่าวใช้ระบบตรวจวัดแบบอินฟาเรดโดยเล็งเครื่องไปยังจุดที่ต้องการจะตรวจวัดและกดปุ่มยิง ค่าอุณหภูมิที่ได้ก็จะขึ้นมายังตัวเครื่องเอง แต่มีจุดที่พึงระวังสำหรับผู้ใช้ด้วย คือ ผู้ใช้ควรจะต้องรู้อุณหภูมิคร่าว ๆ ของอุปกรณ์ที่จะตรวจวัดก่อน และก็เช่นกันควรจะรู้คร่าว ๆ ถึงขีดความสามารถอุปกรณ์ที่จะใช้ตรวจวัด

อธิบายให้ง่ายๆ คือ ต้องรู้คร่าว ๆ ถึงอุณหภูมิของสิ่งของที่จะวัดและปืนที่จะใช้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นคำตอบคือ ถ้าไม่รู้ถึงอุณหภูมิคร่าว ๆ ของสิ่งของที่จะตรวจวัดและนำปืนที่จะใช้ตรวจวัดไปใช้กับสิ่งของนั้น ๆ ถ้าอุณหภูมิของสิ่งของนั้น ๆ อยู่ในช่วงที่ปืนสามารถจะตรวจวัดได้ก็จะทำให้การตรวจวัดเป็นปกติ แต่ถ้าอุณหภูมิสิ่งของนั้น ๆ ไม่อยู่ในช่วงที่ปืนวัดอุณหภูมิจะสามารถวัดได้ก็จะทำให้ค่าที่ได้จากการตรวจวัดคลาดเคลื่อนได้ หรือในบางกรณีสิ่งของที่จะตรวจวัดมีอุณหภูมิสูงกว่าความสามารถของปืนวัดอุณหภูมิจะสามารถรับได้มาก ๆ ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้ปืนวัดอุณหภูมิที่ใช้เกิดความเสียหายได้

โดยทั่วไปการวัดอุณหภูมิโดยปกติเราอาจจะใช้ปรอทหรือเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะในการวัดได้ถ้าอุณหภูมิที่จะตรวจวัดไม่สูงจนเกินไป หรือต่ำจนเกินไป ซึ่งข้อดีของเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะแบบธรรมดาคือ ราคาถูก หาง่าย แต่ถ้าหากอุณหภูมิที่เราต้องการจะตรวจวัดสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะที่รับได้ การเลือกอุปกรณ์ตรวจวัดแบบเครื่องวัดอุณหภูมิระบบไม่สัมผัสเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ยืดหยุ่นกว่า ไม่ทำให้ผู้วัดต้องไปสัมผัสกับสิ่งของโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน การวัดไม่รบกวนระบบการทำงานของเครื่องจักร ไม่ต้องหยุดเดินเครื่องจักร สามารถจะตรวจวัดในจุดที่เข้าถึงได้ยาก เช่น ซอกมุมเล็ก ๆ สามารถตรวจวัดโดยหลีกเลี่ยงสัมผัสกับสารเคมีอันตราย เป็นต้น สามารถทำการตรวจวัดและทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพื่อที่จะควบคุมระดับอุณหภูมิของสิ่งที่เราต้องการจะวัดให้อยู่ในระดับที่เราต้องการได้ เช่น เตาอบพิซซ่า อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก หม้อไอน้ำ อุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ เครื่องยนต์ กิจการดับเพลิง ฯลฯ

ถ้าจะถามว่าการเลือกซื้อปืนวัดอุณหภูมิสักเครื่อง ควรจะพิจารณาจากคุณสมบัติใดบ้าง

ข้อพึงสังเกตุง่าย ๆ คือค่า D:S (Distance to spot ratio) หรือบางครั้งก็เรียก Field of view ซึ่งก็คือค่า ระยะทางจากหน้าเลนส์ตัวปืนวัดไปยังจุดที่ต้องการวัด หารด้วยระยะโฟกัสของปืนวัดอุณหภูมิตัวนั้น

ด้วยนิยามของค่า D:S นี้ทำให้อนุมานได้ว่า ค่า D:S ยิ่งมากยิ่งดี เพราะ ระยะโฟกัสของปืนมีความคงที่ในปืนนั้น แต่ระยะทางในการวัดเปลี่ยนไปได้

ค่า D:S ปกติที่พบเห็นทั่วไปในปืนวัดอุณหภูมิจะอยู่ในช่วง 10:1 ขึ้นไป ซึ่งปืนวัดอุณหภูมิที่มีค่าดังกล่าวสูง ๆ สามารถมีค่านี้ได้ถึง 20:1 จนมากกว่านี้ก็มี

อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบด้วยก็คือ ค่า EMISSIVITY คือความสามารถในการสะท้อนรังสีอินฟาเรดของวัตถุใด ๆ เมื่อวัตถุนั้น ๆ รับพลังงานเข้าไปแล้วซึ่งจะไม่เท่ากันในทุกวัตถุ แต่ส่วนใหญ่ปืนวัดอุณหภูมิจะถูกตั้งค่าดังกล่าวไว้ที่ 0.95 แต่ถ้าปืนวัดอุณหภูมิรุ่นใดสามารถเลือกฟังก์ชั่นค่านี้ได้ก็จะทำให้การวัดอุณหภูมิมีความแม่นยำขึ้น ด้านล่างคือตัวอย่างค่า EMISSIVITY ที่ควรทราบ

มาที่ค่า D:S ของปืนวัดอุณหภูมิกันอีกครั้ง ถามว่าถ้าปืนวัดอุณหภูมิตัวหนึ่งมีค่า D:S ระบุว่า 12:1 หมายความว่าอย่างไร 12:1 เข้าใจง่าย ๆ ก็คือถ้าปืนวัดอุณหภูมิตัวนั้นนำไปวางอยู่หน้าวัตถุที่ต้องการวัดในระยะ 12 หน่วย จะวัดอุณหภูมิเฉลี่ยในเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 หน่วย
อธิบายให้ง่ายขึ้นอีก สมมติผมถือปืนดังกล่าวแล้วอยู่ห่างจากจุดที่ผมต้องการวัด 3 เมตร แล้วเล็งปืนและกดปุ่มวัดให้จุดแสงเลเซอร์ไปตกกระทบยังวัตถุที่จะวัด วัตถุที่จะวัดนั้นควรมีขนาดไม่เล็กไปกว่าวงกลมวงหนึ่งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 ซม.โดยมีแสงเลเซอร์นั้นเป็นจุดศูนย์กลาง
คำนวนให้ดูครับ 3/x =12 เพราะฉะนั้น X = 0.25 m หรือ 25 ซม.
สรุปได้ว่าวัตถุที่เล็กควรวัดในระยะที่ใกล้ถึงใกล้มาก หรือถึงแม้วัตถุที่ใหญ่ก็ตามถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรไปวัดในระยะที่ไกลมาก เพราะจะทำให้การเฉลี่ยอุณหภูมิอยู่ในวงกว้าง

ข้อจำกัดของปืนวัดอุณหภูมิ nfrared Thermometer

1. ไม่ควรนำไปวัดกับสิ่งของโปร่งแสง เช่น น้ำ น้ำมัน พลาสติกใส เพราะค่าที่ได้จะไม่ตรง
2. วัตถุใด ๆ ก็ตามที่มีค่า EMISSIVITY ต่ำมาก ๆ มีวิธีแก้ไขได้ถ้าต้องการใช้ปืนวัดอุณหภูมิไปตรวจวัด โดยที่ปืนวัดอุณหภูมินั้นได้ตั้งค่า EMISSIVITY ไว้ล่วงหน้าแล้วไว้ที่ค่าค่อนข้างสูงเช่น preset ไว้ที่ 0.95 เป็นต้น ให้ใช้เทปกาวสีดำพันสายไฟ หรือ แลคเกอร์ดำ ไปปะไว้ยังจุดที่ต้องการเล็งปืนวัดอุณหภูมิ แล้วค่อยเล็งเพื่อตรวจวัด
3. ไม่ควรนำไปวัดกับวัตถุใด ๆ ที่มีสิ่งปกปิดมาก ๆ หรือมีฝุ่นจับหนา ๆ เช่นถ่านไฟในเตาเพราะปืนจะไปตรวจวัดขี้เถ้าบนพื้นผิวถ่านไฟ อาจจะทำให้ค่าที่วัดได้ไม่ตรง

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด (IR Thermometer)
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด (IR Thermometer)

Emissivity Factors for Common Materials

Material under test Emissivity Material under test Emissivity
Asphalt 0.90 to 0.98 Cloth (black) 0.98
Concrete 0.94 Skin (human 0.98
Cement 0.96 Leather 0.75 to 0.80
Sand 0.90 Charcoal (powder) 0.96
Soil 0.92 to 0.96 Lacquer 0.80 to 0.95
Water 0.92 to 0.96 Lacquer (matt) 0.97
Ice 0.96 to 0.98 Rubber (black) 0.94
Snow 0.83 Plastic 0.85 to 0.95
Glass 0.90 to 0.95 Timber 0.90
Ceramic 0.90 to 0.94 Paper 0.70 to 0.94
Marble 0.94 Chromium Oxides 0.81
Plaster 0.80 to 0.90 Copper Oxides 0.78
Mortar 0.89 to 0.91 Iron Oxides 0.78 to 0.82
Brick 0.93 to 0.96 Textiles 0.90

Fever Thermometer

อย่างไรเรียกว่ามีไข้

มีไข้ หรือ อาการตัวร้อน เป็นอาการแสดงทางการแพทย์ที่พบบ่อย มีไข้นั้น หมายถึงการที่ร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น มากกว่า 37.4 องศาเซลเซียง ( อุณภูมิปกติของคนทั่วไป คือ 36.5 – 37.4 องศาเซลเซียส ) หากมีอุณภูมิสูงมากขึ้น ร่างกายจะสั่นสะท้านได้เนื่องมาจากตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทางการแพทย์ได้แบ่งระดับของไข่ออกเป็น 3 ระดับตามอุณภูมิกายดังนี้

ไข้ต่ำๆ (Low fever) หมายถึง ลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 37.5 – 38.4 องศาเซลเซียส
ไข้ปานกลาง (Moderate fever)หมายถึง ลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 38.5 – 39.4 องศาเซลเซียส
ไข้สูง (High fever) หมายถึงลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 39.5 – 40.4 องศาเซลเซียส
ไข้สูงมาก (Hyperpyrexia) หมายถึง ลูกคุณแม่มีอุณหภูมิ 40.5 องศาเซลเซียส
ปัจจุบัน มีการพัฒนากเครื่องมือวัดไข้ ออกมาในหลายๆรูปแบบให้คุณแม่ได้เลือกใช้ตามความสะดวก เครื่องมือดังกล่าวมี วิธีวัดไข้ และระยะเวลาในการวัดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.การวัดไข้ ทางหน้าผาก (forehead thermometer) เป็นวิธีการวัดที่เหมาะกับเด็กทุกวัย ใช้แบบ infrared thermometer หรือ อุปกรณ์ทำด้วยแผ่นพลาสติกมีแถบสารไวต่อความร้อนติดอยู่ใช้กับหน้าผากจึงไม่ต้องสอดใส่เข้าไปในร่างกาย ใช้งานง่ายเพียงวางบนหน้าผากของลูก แต่การวัดทางหน้าฝากด้วยแผ่นพลาสติกไม่ค่อยแม่นยำมากนัก ทางการแพทย์ จึงไม่นิยมใช้

การวัดไข้ ทางหน้าผาก
การวัดไข้ ทางหน้าผาก

ให้คุณแม่ ทาบแถบเทอร์โมมิเตอร์ไว้กับหน้าผากลูกน้อย อย่าให้มือแตะถูกบริเวณตัวเลย
ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น
คุณแม่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิ หลังจากที่ตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว
วิธีวัดไข้ทางหน้าผากแบบ infrared thermometer สดวก รวดเร็วกว่าา

การวัดไข้ ทางหน้าผาก
การวัดไข้ ทางหน้าผาก

2. การวัดไข้ ใต้รักแร้ (Under the armpit thermometer) เหมาะกับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ง่ายและสะดวก ใช้ได้กับเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทและดิจิตอล แต่มีความแม่นยำน้อยที่สุด ทางการแพทย์ใช้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น

การวัดไข้ ใต้รักแร้
การวัดไข้ ใต้รักแร้

ให้คุณแม่นั่งชิดกับลูก โดยให้ลูกอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด
คุณแม่ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าบริเวณใต้วงแขนของลูกแห้ง และใส่บริเวณกระเปาะไว้ใต้แขน ต้องแน่ใจด้วยว่าบริเวณกระเปาะอยู่แนบชิดกับผิวหนัง หากลูกดิ้นสามารถกอดลูกไว้หรือให้นมลูกไปด้วยก็ได้
คุณแม่อาจจะจับแขนลูกให้แน่น โดยอาจจับแขนลูกมาวางพาดบนหน้าอก ใช้เวลาประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า อุณหภูมิที่อ่านได้จะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายจริง ประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮต์
3. การวัดไข้ทางปาก (Oral thermometer) วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เพราะลูกสามารถระมัดระวังไม่เคี้ยวหรือกัดหลอดและสามารถอมใต้ลิ้นด้วยตนเองได้ วัดอุณหภูมิได้แม่นยำ นิยมใช้ตามโรงพยาบาล วิธีการไม่ยุ่งยาก

วิธีวัดไข้เด็ก ทางปาก
วิธีวัดไข้เด็ก ทางปาก

ต้องแน่ใจว่าลูกพูดรู้เรื่อง ไม่เคี้ยวปรอทจนแตก
วางเทอร์โมมิเตอร์ใต้ลิ้นประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า

4.การวัดไข้ทาหู วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะถ้าต่ำกว่านี้ร่องหูเด็กจะแคบไม่สามารถสอดใส่เซ็นเซอร์ได้อย่างเหมาะสม สะดวกตรงที่ทำให้เด็กรู้สึกสบาย ง่ายต่อการวัด ไม่อันตรายต่อ แก้วหู แต่เสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อนสูง หากวางไม่ตรงกึ่งกลางของรูหู เป้นวิธีที่นิยม เพราะสะดวกสบายแต่ราคาค่อนข้างสูง

การวัดไข้ทางหู (Ear thermometer)
การวัดไข้ทางหู (Ear thermometer)

จับลูกนอนตะแคงในท่าที่ลูกสบายและอยู่นิ่งเฉย
เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในช่องหูให้ตรงจุด คือบริเวณรูหู ถ้าไม่ตรงจะทำให้ได้ผลที่ไม่ถูกต้อง
รอจนกระทั่งเสียงดังปี๊บ แสดงว่าวัดไข้เสร็จแล้ว

5. การวัดไข้ทางทวารหนัก (Rectal thermometer ) เป็นเหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า18เดือน เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์มากที่สุดเนื่องจากได้ค่าที่แม่นยำสุงสุด แต่ก็มีความเสี่ยงหากสอดใส่เทอร์โมมิเตอร์ลึกเกินไป เพราะเด็กบางรายดิ้นขณะทำการวัด

Rectal thermometer
Rectal thermometer

ทากระเปาะของปรอทด้วยเบบี้ออยล์หรือวาสลีนเพื่อหล่อลื่น
จับเด็กนอนหงายในท่าที่สบาย ถอดผ้าอ้อมออก ใช้มือข้างหนึ่งจับข้อเท้าทั้ง 2 ข้างของเด็กยกขึ้น
หรือจับให้ลูกนอนคว่ำบนตัก วางมือบนหลังลูกเพื่อป้องกันลูกดิ้น
ค่อยๆ สอดแท่งปรอทเข้าไปในก้นลึกประมาณ 1 นิ้ว ปล่อยไว้ 30 วินาที-2 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของเทอร์โมมิเตอร์) แล้วดึงออกเช็ดวาสลีนที่ติดอยู่แล้วอ่านอุณหภูมิ
หลังจากถอดเทอร์โมมิเตอร์ออกจากก้นลูกอาจจะอึหรือผายลมออกมาอย่าตกใจไป

เมื่อลูกมีตัวร้อนอย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ ตั้งสติและวัดไข้ก่อนเสมอ เมื่อทราบอุณภูมิของลูกแล้ว คุณแม่จะได้จัดการกับอาการของลูกได้อย่างถูกต้อง หากลูกมีไข้ต่ำๆ คุณแม่สามารถเช็ดดัวลดไข้ด้วยน้ำก๊อก อุณภูมิปกติได้เลย หากเด็กเล็กอายุน้อยกว่า6เดือน แนะนำเช็ดด้วยน้ำอุ่น และวัดอุณภูมิซ้ำหลังเช็ดตัวทุก 30 นาที การณีลูกมีอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป แนะนำให้คุณแม่เช็ดตัวลดไข้และรับประทานยาลดไข้ เสร็จแล้วให้รีบพาลูกนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้ตามแผนการรักษาของเเพทย์ คุณแม่หลายๆคนตกใจ ลูกมีไข้ต่ำๆก็ให้ทานยา เป็นการปฐมพยาบาลที่ไม่ถูกต้อง จำไว้เสมอ การเช็ดตัวลดไข้เป็นสิ่งที่แม่ต้องรีบทำก่อนถึงมือแพทย์ เพื่อป้องกันลูกชัก

วิธีการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด (IR Thermometer)

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด (IR Thermometer)

วัตถุทั่วไปมีการเปล่งพลังงานอินฟราเรดออกมา วัตถุยิ่งร้อนมากเท่าใดก็ยิงมีพลังงานอินฟราเรดปล่อยออกมามาก เลนส์ของอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมพลังงานอินฟราเรดจากวัตถุุและส่งไปยังตัวตรวจจับ ตัวตรวจจับนี้จะแปลงพลังงานเป็นสัญญาณไฟฟ้าซึ่งมีการขยายและแสดงผลเป็นค่าของอุณหภูมิวัตถุ

 

IT06-เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส Benetech รุ่น GM900 Digital Infrared Thermometer -50°C~900°C ( -58°F~1652°F )

Infrared Thermometer

เครื่องวัดอุณหภูมิ แบบไม่สัมผัส BeneTech รุ่น GM900 คือเครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานเหมาะสำหรับ วัดอุณหภูมิบริเวณพื้นที่อันตราย พื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง พื้นที่แคบ ชิ้นงานที่ไม่ต้องการให้สัมผัสงาน ซ่อมบำรุง ที่มีพื้นที่แคบ หรือไม่สามารถติดตั้งเครื่องมือวัดได้

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (อินฟราเรด) BeneTech รุ่น GM900 มีย่านการวัดระหว่าง -50°C~900°C ( -58°F~1652°F ) มีความแม่นยำในการวัดที่ ±1.5 °C สามารถบันทึกค่า MAX, MIN, AVG, DIF ไว้ในหน่ายความจำภายใน เพิ่มความแม่นยำในการวัดด้วย Laser Pointer ทำให้แสดงตำแหน่งที่วัดได้อย่างแม่นยำ หน้าจอ LCD พร้อมกับ Back light ทำให้สามารถอ่านค่าได้แม้ในที่แสงสว่างน้อย

สามารถปรับค่า Emissivity (0.1~1.00) ตามวัตถุที่วัดเพื่อเพิ่มค่าความแม่นยำ เครื่องวัดอุณหภูมิ BeneTech รุ่น GM900 ผ่านการรับรองมาตราฐาน CE, FCC and RoHS.

Note: ค่า Emissivity (ε) หรือค่าสัมประสิทธิ์ของการแผ่รังสี เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการแผ่รังสีความร้อน ด้วยหลักการของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ infrarad หรือ IR

หลักการของการวัดก็คือเครื่องจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการแผ่รังสีของพื้นผิววัตถุ แล้วแปลงค่าออกมาเป็นตัวเลขอุณหภูมิ เพราะฉนั้นเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ IR ไม่ได้ส่งอะไรหรือยิงอะไรออกไป เลเซอร์ที่มีใช้สำหรับประมาณบริเวณที่เครื่องกำลังตรวจวัดการแผ่รังสีออกมาเท่านั้น ทีวัตถุหรือพื้นผิวแต่ละชนิดก็มีความสามารถในการแผ่รังสีต่างกันเช่น ใส่เสื้อสีดำ จะรู้สึกร้อนกว่าเสื้อสีขาว เป็นต้น

เพราะฉนั้น พื้นผิวสีดำ จะรับความร้อน หรือแผ่ความร้อนหรือรังสี IR ได้ดีกว่าพื้นผิวสีขาวทำให้ถ้าเราวัดอุณหภูมิด้วย IR ที่อุณหภูมิเดียวกัน พื้นผิวสีขาวจะให้ค่าอุณหภูมิที่วัดได้ต่ำกว่า สีดำทำให้การวัดผิดพลาด ด้วยเหตุผลดังกล่างค่า ε เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความถูกต้อง (accuracy) ของการวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด

ดังนั้นเครื่องมือวุดอุณหภูมิแบบ IR ที่ดี ควรมีการปรับค่า Emissivity ที่เครื่องได้ เพื่อที่จะสามารถนำไปวัดอุณหภูมิที่พื้นผิวได้หลายๆแบบ

รีวิว IT04-เครื่องมือวัดอุณหภูมิ GM700 – Digital Infrared Thermometer -50 to 700C

IT04-เครื่องมือวัดอุณหภูมิ GM700 สามารถวัดอุณหภูมิได้ในช่วง ติดลบ 50

องศาเซลเซียส ถึง 700 องศาเซลเซียส หรือ ติดลบ 58 องศาฟาเรนไฮน์ ถึง

1,292 องศาฟาเรนไฮน์

ซึ่งวิธีการเปลี่ยนจากองศาเซลเซียสเป็นองศาฟาเรนไฮน์นั้นปุ่มปรับจะอยู่ที่ด้านใน

ฝาใส่แบตเตอรี่ คือให้เปิดฝาใส่แบตเตอรี่ออกมาแล้วค่อยเลื่อนปรับ(ตามภาพ)

it04iIT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 หน้าจอมีแสง Backlight

และมีจุดเลเซอร์ออกมายังจุดที่ยิงวัดด้วย วิธีการเปิดหรือปิดแสงหน้าจอ

(แสง Backlight) และจุดเลเซอร์คือ ให้กดเลือกที่ปุ่มสีเหลืองบนขวาสุด

ก็จะเป็นการเลือกเพื่อให้เปิดแสงไฟหน้าจอ(แสง Backlight) และจุดเลเซอร์ได้

it04j

สรุปความสามารถของ IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 คือ

1. IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 สามารถปรับค่า EMS หรือค่า Emissivity

ของวัตถุสิ่งของได้ คือจะสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 0.10 ถึง 1.00 แล้วแต่วัตถุนั้น ๆ

จะดูดกลืนค่าความร้อนได้มากเพียงใด แต่โดยทั่ว ๆ ไปจะตั้งไว้ที่มาตรฐานที่

0.95 หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ 95 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง  วิธีการปรับตั้งค่า EMS ก็คือ

ให้กดไปที่ปุ่ม Mode กดไปเรื่อย ๆ จนเจอตัวอักษร EMS กระพริบ ๆ

หลังจากนั้นให้กดปุ่ม SET(ปุ่มบนซ้าย) 1 ครั้ง และเลือกไปที่ลูกศรขึ้น – ลง

(ปุ่มล่างซ้ายหรือปุ่มล่างขวา) จนได้ค่า EMS ที่ท่านต้องการ เป็นอันใช้งานได้

2. IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 สามารถตรวจวัดค่าอุณหภูมิสูงสุดที่มัน Scan ได้

โดยมันจะค้างค่าอุณหภูมิที่สูงที่สุดที่มันอ่านค่าได้ไว้บนหน้าจอเสมอ

วิธีการวัดเช่นนี้ท่านจะต้องวัดแบบที่เรียกว่าวัด Scan

วิธีการก็คือให้กดปุ่มไกปืนค้างไว้อย่าปล่อยมือออก

จากนั้นให้กวาดการวัดไปให้ทั่ว ๆ จุดที่จะวัด ท่านจะสังเกตุเห็นว่าตัวเลขหน้าจอ

(ตัวเลขด้านล่าง) จะค้างค่าสูงสุดที่มันวัดได้เสมอ

จากนั้นจึงค่อยปล่อยมือออกจากไกปืน ยกตัวอย่างเช่น ท่านต้องการวัดแบบ

Scan บางส่วนของร่างกายเช่นท่อนแขนก็ให้ท่านเลือกไปที่ปุ่ม Mode

แล้วกดปุ่มนี้เลือกไปเรื่อย ๆ จนเจอคำว่า MAX กระพริบ ๆ อยู่

หลังจากนั้นให้กดปุ่ม SET ก็เป็นอันใช้งานได้

3. IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ หGM700 สามารถตรวจวัดค่าอุณหภูมิต่ำสุดที่มัน Scan ได้เช่นกัน

วิธีการก็ให้ท่านเลือกไปที่ปุ่ม Mode แล้วกดปุ่มนี้เลือกไปเรื่อย ๆ จนเจอคำว่า

MIN กระพริบ ๆ อยู่ หลังจากนั้นให้กดปุ่ม SET 1 ครั้งก็เป็นอันใช้งานได้

4. IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 สามารถตรวจวัดค่าอุณหภูมิเฉลี่ยที่มัน Scan ได้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านต้องการจะวัดอุณหภูมิเฉลี่ยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

เช่น ท่อนแขน ก็ให้ท่านกดปุ่มไกปืนค้างไว้แล้วไล่วัดไปเรื่อย ๆ

ปืนจะเฉลี่ยอุณหภูมิของท่อนแขนท่านให้เอง วิธีการจะทำเช่นนั้นได้ก็คือ

ให้ท่านกดปุ่ม Mode แล้วกดปุ่มนี้เลือกไปเรื่อย ๆ จนเจอคำว่า AVG กระพริบ ๆ

อยู่ หลังจากนั้นให้กดปุ่ม SET 1 ครั้งก็เป็นอันใช้งานได้

5.IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 สามารถตรวจวัดค่าอุณหภูมิที่แตกต่างระหว่างจุดสองจุดที่

มัน Scan ได้ ยกตัวอย่างเช่น อุณหภูมิที่แตกต่างกันบนแขนข้างเดียวกัน

วิธีใช้งานก็คือ ให้ท่านกดปุ่ม Mode แล้วกดปุ่มนี้เลือกไปเรื่อย ๆ จนเจอคำว่า

DIF กระพริบ ๆ อยู่ หลังจากนั้นก็ให้กดปุ่ม SET 1 ครั้งก็เป็นอันใช้งานได้

สามารถนำไปตรวจวัดได้เลย

6.IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 สามารถตั้งให้มันร้องเมื่ออุณหภูมิที่ตรวจวัดอยู่สูงกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ได้ เช่น ถ้าหากตั้งอุณหภูมิสูงสุดไว้ที่ 20 องศาเซลเซียส

เมื่อใดก็ตามที่ปืนวัดอุณหภูมิวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 20

องศาเซลเซียสปืนวัดอุณหภูมิรุ่นนี้จะร้องขึ้นมา 3

ครั้งเป็นการเตือนให้ทราบว่าอุณหภูมิที่วัดได้ตอนนี้อยู่สูงกว่าจุดที่ท่านตั้งไว้

วิธีการจะทำเช่นนั้นได้ก็คือให้กดปุ่ม Mode แล้วกดปุ่มนี้เลือกไปเรื่อย ๆ

จนเจอคำว่า HAL กระพริบ ๆ อยู่ หลังจากนั้นให้กดปุ่ม SET 1 ครั้ง

แล้วให้ท่านกดปุ่มลูกศร ขึ้น หรือ ลง(ปุ่มสีเทาล่างซ้ายหรือล่างขวา)

เลือกไปเรื่อย ๆ จนได้ค่าอุณหภูมิที่ต้องการ ก็เป็นอันใช้งานได้

7. IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 สามารถตั้งให้มันร้องเมื่ออุณหภูมิที่ตรวจวัดอยู่ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ได้ วิธีการก็ให้ทำเช่นเดียวกับข้อ 6. คือกดปุ่ม Mode แล้วกดเลือกไปเรื่อย ๆ

จนเจอคำว่า LAL กระพริบ ๆ อยู่ กดปุ่ม Set 1 ครั้ง แล้วให้ท่านกดปุ่มลูกศร ขึ้น

หรือ ลง(ปุ่มสีเทาล่างซ้ายหรือล่างขวา) เลือกไปเรื่อย ๆ

จนได้ค่าอุณหภูมิที่ต้องการ ก็เป็นอันใช้งานได้

8.IT04-เครื่องมือวัดอุณภูมิ GM700 สามารถเก็บค่าที่มันวัดได้

วิธีการใช้งานก็คือให้ท่านเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดเสียก่อน(ลบทิ้งให้หมด)

โดยกดปุ่มบนกลาง(ปุ่ม STO/CAL) ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที ท่านจะได้ยินเสียง

บี๊บ ยาว ๆ ดังขึ้น 1 ครั้ง หลังจากนั้นให้ท่านกดปุ่ม Mode

แล้วให้ท่านกดเลือกไปเรื่อย ๆ จนเจอคำว่า STO กระพริบ ๆ อยู่ ก็ให้ท่านกดปุ่ม

SET 1 ครั้ง หลังจากนั้นให้ท่าน ตรวจวัดอุณหภูมิได้ตามปกติ

แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านตรวจวัดแล้วต้องการจะเก็บข้อมูลไว้ก็ให้ท่านกดไปที่

ปุ่มบนกลาง(ปุ่ม STO/CAL) 1 ครั้ง(ถ้าท่านไม่ต้องการจะเก็บก็ไม่ต้องกดปุ่มนี้)

ปืนวัดอุณหภูมิจะบันทึกค่าอุณหภูมิที่ท่านต้องการเก็บไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

วิธีการเลือกดูค่าอุณหภูมิที่ท่านบันทึกไว้คือ รอให้ปืนวัดอุณหภูมิปิดเครื่องก่อน

จากนั้นให้กดปุ่มไกปืนเพื่อเปิดเครื่องขึ้นมาอีกครั้ง แล้วจึงกดปุ่มบนกลาง

(ปุ่ม STO/CAL) ท่านก็จะเห็นค่าอุณหภูมิที่ท่านบันทึกค่าไว้ปรากฎขึ้นมา

(กดไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นค่าที่บันทึกต่อ ๆ มานั่นเอง)

TM02-เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส Digital Thermometer K-Type

วัดอุณหภูมิแบบสัมผัส thermometer-k-type ท่อน้ำร้อน, ชิ้นส่วนเครื่องยนต์,อาหาร, ฉนวนท่อน้ำร้อน,

อุปกรณ์ไฟฟ้า,มอเตอร์, แบริ่ง,สระว่ายน้ำ,บ่อปลา, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำความร้อน, พื้นผิวคอนกรีต ไม้ และอื่นๆ ตามความต้องการ

คุณสมบัติของเครื่องวัดอุณหภูมิ:

เทอร์โมมิเตอร์รุ่น 6802II (อินพุทสองช่อง) ใช้วิธีการวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส ทำให้อ่านค่าได้อย่างรวดเร็ว และมีช่วงการวัดที่กว้าง (-50C – 1,300C). เทอร์โมมิเตอร์สามารถใช้กับ K-Type thermocouples (แถม 2 ชิ้น) ตัวเครื่องหุ้มตัวพลาสติกอย่างดี กันกระแทกและรอยขีดข่วน พกพาสะดวก มีขาพับสามารถตั้งกับโต๊ะเพื่อการวัดอุณหภูมิและอ่านค่าได้อย่างสะดวก การวัดสามารถเรียกดูค่าต่ำสุด สูงสุดได้

Features:

การตอบสนองการวัดรวดเร็ว

ย่านการวัดอุณหภูมิที่กว้าง -50C – 1,300C

หน่วยการวัดหลากหลาย C/F/K

บันทึกค่าอุณหภูมิ ต่ำสุด สูงสุดได้

เทอร์โมมิเตอร์สามารถแยกการวัดจากอินพุทสองช่อง ที่ค่าการวัดแตกต่างพร้อมกันได้

มีฟังก์ชั่นการ Hold ค้าง หน้าจอ เพื่อความสะดวกในกรณีที่วัดอุณหภูมิในจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย

มาพร้อมกับ 2x 1m K-Type flexible wire probes

Specifications:

หน้าจอแสดงผล — 50mm x 30mm LCD display

ย่านในการวัด — -50C to 1,300C (-58F to 2,372F)

ความแม่นยำในการวัด — +/- 0.1% +/- 0.4C

ความละเอียด — 0.1C/F

Sampling rate — 2.5 samples per second

ขนาด — 155x 75 x 41 mm

น้ำหนัก — 250g

สินค้าประกอบด้วย

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล

สาย K-Type thermocouples 2 เส้น

คู่มือการใช้งาน

Cr : http://www.richmoto.net/

เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์

1 วิธีการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด (IR Thermometer)?
วัตถุทั่วไปมีการเปล่งพลังงานอินฟราเรดออกมา วัตถุยิ่งร้อนมากเท่าใดก็ยิงมีพลังงานอินฟราเรดปล่อยออกมามาก เลนส์ของอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมพลังงานอินฟราเรดจากวัตถุุและส่งไปยังตัวตรวจจับ ตัวตรวจจับนี้จะแปลงพลังงานเป็นสัญญาณไฟฟ้าซึ่งมีการขยายและแสดงผลเป็นค่าของอุณหภูมิวัตถุ
2 ระยะเวลาตอบสนองที่คาดหวังสำหรับเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด?
เวลาตอบสนองของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดจะเร็วกว่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอื่นส่วนใหญ่; คือใช้เวลาเพียงประมาณ 0.5 วินาที
3 ระยะทางสูงสุดที่สามารถวัดได้เป็นเท่าไร?
เป็นหน้าที่ของเลนส์ในเครื่องวัดอุณหภูมิ โดยดูที่อัตราส่วน D:S ที่เป็นสเปคเฉพาะของอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์แต่ละรุ่น และพิจารณาร่วมกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเป้าหมาย ในการกำหนดระยะทางสูงสุด เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดส่วนใหญ่มีระยะทางที่วัดได้สูงสุดประมาณ 100 ฟุต (30 เมตร) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศ
4 ช่วงสเปกตรัมคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร?
ช่วงสเปกตรัมของรังสีอินฟราเรดอยู่ระหว่าง 0.7-1000 ไมครอน เป็นช่วงความยาวคลื่นที่รังสีอินฟราเรดมีการแผ่รังสีออกมา ด้วยเหตุผลทางค่าใช้จ่ายเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดโดยทั่วไปทำงานที่ช่วงความยาวคลื่นน้อยกว่า 20 ไมครอน ลงมา เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดที่ใช้กันทั่วไปมีช่วงตอบสนองสเปกตรัมอยู่ระหว่าง 8-20 ไมครอน ที่ใช้ช่วงนี้ก็เพราะมันได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจาก CO 2และ H 2 O ในบรรยากาศ ด้วยความยาวคลื่นที่สูงกว่า และ ต่ำกว่านี้ ความถูกต้องจะลดลง รวมถึงด้วยระยะทางที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากผลของบรรยากาศ (ความชื้น)
5 emissivity คืออะไร?
Emissivity คือความสามารถของวัตถุที่จะปล่อยหรือดูดซับพลังงาน การปล่อยพลังงานสมบูรณ์มีค่า emissivity เป็น 1, โดยปล่อยพลังงานออกมาได้ 100% วัตถุที่มี emissivity 0.8 จะดูดซับ 80% และสะท้อนออกมา 20% Emissivity แปรผันกับอุณหภูมิและการตอบสนองสเปกตรัม (ความยาวคลื่น) เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดจะมีปัญหาในการวัดอุณหภูมิที่ถูกต้องของพื้นผิวโลหะมันวาวยกเว้นในกรณีที่สามารถปรับ emissivity ได้

6 emissivity ของวัตถุ กำหนดอย่างไร?
ขั้นแรกให้วัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุที่จะวัดด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส จากนั้นวัดพื้นผิวเดียวกันด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดปรับ ปรับค่า emissivity ของเทอร์โมมิเตอร์จนสามารถอ่านอุณหภูมิได้จาก thermocouple ทั้ง สองแบบตรงกัน

สำหรับอุณหภูมิสูงประมาณ 500 ° F (260 ° C) ปิดเทปทนความร้อนบนวัตถุที่จะวัด รอจนอุณหภูมิเทปมีค่าเท่ากับวัตถุ ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดที่ปรับ emissivity ตั้งไว้ที่ 0.95, วัดและบันทึกอุณหภูมิของเทป จากนั้นวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุ ปรับ emissivity จนกระทั่งอุณหภูมิของวัตถุเป็นเช่นเดียวกับที่ของเทป

7 พื้นที่บริเวณใหนที่ถูกวัดอุณหภูมิด้วยอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์?

IR thermometer วัดอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวภายในวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง D : S เช่น ถ้าค่า D : S = 12 : 1 เรายืนวัดห่างจากวัตถุ 12 เมตร ก็จะได้อุณหภูมิเฉลี่ยภายในเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ที่เป้าหมาย

ดังนั้น ยิ่งวัดไกล้ จะแม่นยำกว่า หรือไม่ก็เลือกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่มีค่า D : S สูงๆ ซึ่งก็จะมีราคาสูงไปด้วย

Cr : http://www.finedayplus.com/blog/cat/Infraredthermometer/post/faqirthermometer/