คู่มือการใช้งาน เครื่องตรวจหาโลหะ MD03 (MD-88) ตอนที่ 1

คุณสมบัติทั่วไป

เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน MD03 มีจานค้นหามาให้ 2 จาน

สำหรับการใช้งานปกติทั่วไป เช่น ภายในอาคาร หรือ บริเวณพื้นดินที่มีเศษโลหะปนอยู่มาก ให้ใช้จานเล็ก ซึ่งจะให้ความแม่นยำกว่า

สำหรับการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ภายนอกอาคาร หรือ บริเวณพื้นดินที่ไม่มีโลหะปนเปื้อน และ ของที่ต้องการหาอยู่ลึก ควรใช้จานใหญ่

การหาโลหะใต้พื้นดินหนา ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบทางธรณีวิทยาได้ เนื่องจากมีแร่หลากหลายชนิดผสมปนอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งแร่เหล่านี้ก็สามารถทำให้เครื่องตรวจหาโลหะส่งสัญญาณออกมาได้เช่นกัน สัญญาณจากแร่พวกนี้อาจกลบสัญญาณของโลหะที่ต้องการค้นหา ทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้

คนที่เคยใช้ เครื่องตรวจหาโลหะรุ่นเก่า จะสังเกตเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงสัญญาณเมื่อจานเคลื่อนผ่านผิวหน้าดินที่ไม่สม่ำเสมอ หรือในกรณีที่จานเคลื่อนผ่านกองดิน หินหรือเศษอิฐ โอกาสที่เครื่องตรวจหาโลหะจะส่งสัญญาณมีสูง ลักษณะนี้เรียกว่า มีการปนเปื้อนของแร่ ด้วยเหตุนี้  เครื่องตรวจหาโลหะรุ่นเก่า จึงไม่สามารถหาของที่อยู่ลึกได้

เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน MD03 เพิ่มระบบ ground balance เข้ามา เพื่อตัดการรบกวนจากการปนเปื้อนของแร่และเลือกค้นหาโลหะเท่านั้น

ข้อมูลทางเทคนิค

ความถี่ส่ง 6.99 KHz (+-2KHz)

ความถี่สัญญาณ 400 Hz

น้ำหนัก 4.5 kg

อุณหภูมิที่ใช้งาน -10 ~ 40C

ใช้ไฟ 12V

ความลึกสูงสุด : 5 เมตร (จานใหญ่)

2.5 เมตร (จานเล็ก)

ความลึกของการตรวจจับ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ผิวหน้าของบริเวณที่ค้นหา รูปร่างและปริมาณขนาดของวัตถุที่ต้องการค้นหา

โดยทั่วไป วัตถุยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งมีจำนวนมาก ก็ยิ่งสามารถถูกหาเจอในที่ลึกกว่าได้

ความลึกสูงสุดข้างต้น อ้างอิงโดยใช้ แผ่นอลูมิเนียม ขนาด 60 x 60 x 1 ซม. ฝังในดินแห้ง

เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน

คำอธิบาย ส่วนควบคุมต่างๆ

เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน
เครื่องตรวจโลหะใต้ดิน

ด้านล่างของมิเตอร์นี้ จะมีปุ่มกด เรียกว่า ปุ่มความจำ หากกดหนึ่งครั้ง วงจรความจำจะเริ่มทำงาน โดยเก็บค่าสภาพแวดล้อม ของสถานที่ๆทำการค้นหา  ตัวอย่างเช่น เมื่อจานอยู่เหนือดิน เครื่องจะส่งสัญญาณของดิน ถ้ากดปุ่มตอนนั้นเลย สัญญาณจะถูกตัดไป ดังนั้นไม่ควรกดปุ่มนี้ที่ใกล้โลหะ เพราะจะทำให้หาโลหะไม่เจอถ้าเอาไปใช้หาโลหะบริเวณอื่น หากกดปุ่มค้างไว้ เครื่องจะไม่ตอบสนองกับวัตถุใดๆทั้งสิ้น

ก่อนการปรับปุ่มควบคุมใดๆ ควรกดปุ่มความจำค้างไว้จนกว่าจะเสร็จสิ้นการปรับ

การเปลี่ยนสถานที่หรือสภาพแวดล้อม อาจทำให้เข็มเบี่ยงออกจากศูนย์

ถ้ากดปุ่มแล้วปล่อย ณ.ขณะนั้น เข็มจะตีกลับมาที่ตำแหน่งศูนย์ ระหว่างทำการค้นหา ต้องกดปุ่มแล้วปล่อยเป็นช่วงๆ

หากหมุนปุ่มนี้ไปตามเข็มนาฬิกา เสียงจะค่อยๆเพิ่มขึ้น จากไม่มีเสียง แล้วค่อยๆดังขึ้นเรื่อยๆ

ระหว่างทำการค้นหา ควรมีเสียงเบาสม่ำเสมอจากเครื่อง เสียงนี้เรียกว่า “threshold”

สิ่งที่ต้องทำคือค่อยๆปรับปุ่มนี้จนได้ยินเสียงครางเบาๆ ยิ่งเบาพอได้ยินเท่าไรยิ่งดี เครื่องมีความไวที่สุด ถ้าปรับเสียงเบาที่สุด

เมื่อทำการปรับเสียง threshold ต้องกดปุ่มความจำค้างไว้จนเสร็จ

ขณะทำการค้นหา เมื่อไรก็ตามถ้าระดับเสียง threshold เปลี่ยน ให้กดปุ่มความจำแล้วปล่อยทันที เพื่อเป็นการรีเซ็ต

ปุ่มควบคุมความไว หากหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนสุด ค่าความไวเป็นต่ำสุด ความลึกในการตรวจจับจะตื้น ถ้าหมุนตามเข็มนาฬิกา ความไวจะค่อยๆเพิ่มขึ้น ตำแหน่งขวาสุด จะใด้ความไวสูงสุด ได้ความลึกในการตรวจจับมากสุด

แน่นอนที่สุด เราคาดหวังว่าเครื่องจะสามารถค้นหาได้ลึกๆ แต่อย่าลืมผลจากการปนเปื้อนของแร่ ในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของแร่มาก ถ้าเพิ่มความไว จะทำให้การจับสัญญาณผิดพลาด เครื่องจะส่งสัญญาณทุกที่ทั่วบริเวณ ผลก็คือ ไม่สามารถหาอะไรเจอ ในสถานการณ์แบบนี้ เราควรลดความไวที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบของการปนเปื้อนของแร่ ในบริเวณที่ดินมีความสม่ำเสมอ และไม่มีเศษโลหะ สามารถปรับความไวสูงๆได้ ทำให้หาของที่อยู่ลึกได้

หมายเหตุ : ทุกครั้งที่ปรับความไว ต้องกดปุ่มความจำแล้วปล่อยเสมอ

วิธีใช้และปรับเครื่อง MD01(MD-3003B1)-เครื่องตรวจโลหะ เครื่องตรวจอาวุธ สำหรับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัย

เครื่องตรวจหาโลหะ

เครื่องตรวจหาโลหะ  วิธีใช้และปรับเครื่อง เครื่องตรวจโลหะ MD01 (MD-3003B1)-เครื่องตรวจหาโลหะ เครื่องตรวจอาวุธ สำหรับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัย

1) ใส่ถ่าน สี่เหลี่ยม 9 volt ที่ช่องใส่ถ่านทีปลายด้าม

2) เปิดสวิทซ์ หมายเลข 8 ตามภาพ เครื่องพร้อมใช้งาน

3) การใช้งานต้องกวาดเครื่องไปมาบริเวณที่ตรวจ อย่าถือเครื่องไว้เฉยๆ

4) หากเปิดเครื่องครั้งแรกแล้วมีเสียงร้องหรือสั่นตลอด ให้ปรับความไวของเครื่อง ที่ช่องหมายเลข 4 ในภาพ โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนเสียงหยุดพอดี

5) ถ่านที่ใช้ควรเป็นถ่านใหม่เสมอ

เมื่อพบว่ามีโลหะ จะแจ้งเป็นระบบสั่น หรือระบบเสียงให้เรารู้ เป็นรุ่นที่ใช้มากที่สุดในสนามบิน

ปรับความถี่ในการตรวจจับได้
มีสวิสต์ปิดเปิดเครื่อง
เปลี่ยนเป็นระบบสั่นได้
ตรวจเข็มหมุดที่มีขนาดเล็กได้
ตรวจจับโลหะทั้งแบบที่เป็นเหล็กหรือโลหะผสม
มีไฟแสดงสถานการณ์ทำงานของแบตเตอรี่
การเปลี่ยนแบตเตอรี่ง่ายๆ มีต้องใช้เครื่องมือใดๆ
น้ำหนักเบาใช้งานได้สะดวก
เปลี่ยน Battery ได้ง่าย
ชาร์จ Battery โดยต่า Adapter 9 VDC
ใช้ Battery 9 Volt

– ปรับความไวในการตรวจจับโลหะ เพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของโลหะเป้าหมายได้
– มีสวิตช์เปิดปิดเพื่อการประหยัดแบตเตอรี่ในกรณีที่พักการใช้งาน
– มี Buzzer เตือนเมื่อมีการตรวจจับโลหะได้
– ใช้แบตเตอรี่ขนาด 9 โวลท์ แบบชาร์จได้ มีช่องเสียบอแดปเตอร์ไว้สำหรับต่อไฟตรงจากอแดปเตอร์ในการใช้งาน
– รูปทรงการจับถนัดมือไม่ลื่นหลุดง่าย

หลัก การทำงานของอุปกรณ์ Metal Detector นี้ก็คือ ตัวเครื่องจะให้กำเนิดสนามแม่เหล็กออกมา เมื่อมีโลหะที่เป็น Ferrite มาตัดผ่านก็จะเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสเล็กๆขึ้นในวงจรการตรวจจับ ตัวเครื่องก็จะส่งสัญญาณเตือนออกมาแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับเครื่องตรวจหากับระเบิดที่ใช้ในวงการทหารนั่นเอง

 

Metal Detector

ท่านที่เคยโดยสารเครื่องบินมาแล้ว คงคุ้นเคยดีกับภาพของเจ้าหน้าที่สนามบิน ถือวัตถุรูปลักษณะเป็นแท่งยาวๆ อันหนึ่งยกกวาดไปตามลำตัว ของผู้โดยสารตั้งแต่หัวจรดเท้าโดยปราศจากรังสีใดๆ ที่สามารถมองเห็นได้อยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะให้ผ่านไปได้หากไม่มีเสียงสัญญาณเตือน เจ้าวัตถุรูปแท่งที่ว่านี้ก็คือเครื่องตรวจจับโลหะนั่นเอง หลายคนอาจสงสัยว่าเจ้าเครื่องตรวจจับโลหะที่ว่านี้ทำงานได้อย่างไร วันนี้เราจะมาค้นหาคำตอบกัน

หลักการทำงานของเครื่องตรวจจับโลหะ อาศัยหลักที่ว่า วัตถุที่นำไฟฟ้า เช่น โลหะ จะตอบสนองต่อ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า แตกต่างจากวัตถุที่ไม่นำไฟฟ้า หัวตรวจจับโลหะมีหลายชนิด แต่มีหลักการทำงานใกล้เคียงกัน คือ เมื่อเปิดเครื่อง กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปยัง ขดลวดโลหะที่ปลายหัวตรวจจับ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น โดยมีขั้วอยู่ในแนวตั้งฉาก กับทิศทางของขดลวด หากสนามแม่เหล็กดังกล่าวไปกระทบกับวัตถุที่นำไฟฟ้าได้ดี เช่น โลหะ จะกระตุ้นให้วัตถุดังกล่าวนั้น เกิดสนามแม่เหล็กอ่อนๆ ในทิศทางตรงข้ามกัน ทำให้สนามแม่เหล็กที่สะท้อนกลับมา สู่หัวตรวจจับเกิดการเปลี่ยนเฟส ยิ่งวัตถุมีการนำไฟฟ้าดีมากขึ้น การเปลี่ยนเฟสก็มากขึ้นตามด้วย จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้สามารถทราบได้ว่า มีวัตถุที่ทำจากโลหะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่

เครื่องตรวจจับโลหะส่วนใหญ่ สามารถตรวจจับวัตถุที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหน้า 8-12 นิ้ว ความสามารถในการตรวจจับวัตถุ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ นอกจากชนิดและความไวของหัวตรวจจับแล้ว ชนิดของโลหะ ก็มีผลต่อการตรวจจับด้วย โลหะบางชนิด เช่น เหล็ก สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้แรงกว่าโลหะอื่น การตรวจจับจึงทำได้ง่าย ขนาดของวัตถุก็มีส่วนสำคัญ วัตถุที่มีขนาดเล็กถูกตรวจจับได้ยากกว่าวัตถุขนาดใหญ่ เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงสามารถพกเหรียญ หรือลูกกุญแจเข้าไปได้ โดยที่เครื่องตรวจจับ ไม่ส่งสัญญาณเตือนแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีวัตถุที่สามารถป้องกันสนามแม่เหล็ก ไม่ให้ผ่านไปถึงวัตถุที่จะตรวจจับหรือไม่ เป็นต้น เครื่องตรวจจับโลหะสมัยใหม่ นอกจากตรวจจับได้ว่า มีวัตถุที่ทำจากโลหะได้แล้ว ยังสามารถระบุขนาด และความลึกของวัตถุอย่างคร่าวๆ ได้อีกด้วย

เครื่องตรวจจับโลหะ นอกจากใช้ในสนามบิน และตามอาคารสถานที่สำคัญ เพื่อการรักษาความปลอดภัยแล้ว ยังมีการนำไปใช้ในงานด้านอื่นได้อีก เช่น ใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของท่อ หรือสายเคเบิลที่ฝังอยู่ในอาคาร ตรวจหาส่วนประกอบโลหะในดินหรือหิน รวมทั้งใช้ในการสืบหาวัตถุโบราณ ที่ทำจากโลหะที่ฝังอยู่ใต้ดิน เพื่อประโยชน์ในทางโบราณคดีได้อีกด้วย

Metal Detector
Metal Detector