วิธีใช้และปรับเครื่อง MD01(MD-3003B1)-เครื่องตรวจโลหะ เครื่องตรวจอาวุธ สำหรับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัย

เครื่องตรวจหาโลหะ

เครื่องตรวจหาโลหะ  วิธีใช้และปรับเครื่อง เครื่องตรวจโลหะ MD01 (MD-3003B1)-เครื่องตรวจหาโลหะ เครื่องตรวจอาวุธ สำหรับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัย

1) ใส่ถ่าน สี่เหลี่ยม 9 volt ที่ช่องใส่ถ่านทีปลายด้าม

2) เปิดสวิทซ์ หมายเลข 8 ตามภาพ เครื่องพร้อมใช้งาน

3) การใช้งานต้องกวาดเครื่องไปมาบริเวณที่ตรวจ อย่าถือเครื่องไว้เฉยๆ

4) หากเปิดเครื่องครั้งแรกแล้วมีเสียงร้องหรือสั่นตลอด ให้ปรับความไวของเครื่อง ที่ช่องหมายเลข 4 ในภาพ โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนเสียงหยุดพอดี

5) ถ่านที่ใช้ควรเป็นถ่านใหม่เสมอ

เมื่อพบว่ามีโลหะ จะแจ้งเป็นระบบสั่น หรือระบบเสียงให้เรารู้ เป็นรุ่นที่ใช้มากที่สุดในสนามบิน

ปรับความถี่ในการตรวจจับได้
มีสวิสต์ปิดเปิดเครื่อง
เปลี่ยนเป็นระบบสั่นได้
ตรวจเข็มหมุดที่มีขนาดเล็กได้
ตรวจจับโลหะทั้งแบบที่เป็นเหล็กหรือโลหะผสม
มีไฟแสดงสถานการณ์ทำงานของแบตเตอรี่
การเปลี่ยนแบตเตอรี่ง่ายๆ มีต้องใช้เครื่องมือใดๆ
น้ำหนักเบาใช้งานได้สะดวก
เปลี่ยน Battery ได้ง่าย
ชาร์จ Battery โดยต่า Adapter 9 VDC
ใช้ Battery 9 Volt

– ปรับความไวในการตรวจจับโลหะ เพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของโลหะเป้าหมายได้
– มีสวิตช์เปิดปิดเพื่อการประหยัดแบตเตอรี่ในกรณีที่พักการใช้งาน
– มี Buzzer เตือนเมื่อมีการตรวจจับโลหะได้
– ใช้แบตเตอรี่ขนาด 9 โวลท์ แบบชาร์จได้ มีช่องเสียบอแดปเตอร์ไว้สำหรับต่อไฟตรงจากอแดปเตอร์ในการใช้งาน
– รูปทรงการจับถนัดมือไม่ลื่นหลุดง่าย

หลัก การทำงานของอุปกรณ์ Metal Detector นี้ก็คือ ตัวเครื่องจะให้กำเนิดสนามแม่เหล็กออกมา เมื่อมีโลหะที่เป็น Ferrite มาตัดผ่านก็จะเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสเล็กๆขึ้นในวงจรการตรวจจับ ตัวเครื่องก็จะส่งสัญญาณเตือนออกมาแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับเครื่องตรวจหากับระเบิดที่ใช้ในวงการทหารนั่นเอง

 

Metal Detector

ท่านที่เคยโดยสารเครื่องบินมาแล้ว คงคุ้นเคยดีกับภาพของเจ้าหน้าที่สนามบิน ถือวัตถุรูปลักษณะเป็นแท่งยาวๆ อันหนึ่งยกกวาดไปตามลำตัว ของผู้โดยสารตั้งแต่หัวจรดเท้าโดยปราศจากรังสีใดๆ ที่สามารถมองเห็นได้อยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะให้ผ่านไปได้หากไม่มีเสียงสัญญาณเตือน เจ้าวัตถุรูปแท่งที่ว่านี้ก็คือเครื่องตรวจจับโลหะนั่นเอง หลายคนอาจสงสัยว่าเจ้าเครื่องตรวจจับโลหะที่ว่านี้ทำงานได้อย่างไร วันนี้เราจะมาค้นหาคำตอบกัน

หลักการทำงานของเครื่องตรวจจับโลหะ อาศัยหลักที่ว่า วัตถุที่นำไฟฟ้า เช่น โลหะ จะตอบสนองต่อ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า แตกต่างจากวัตถุที่ไม่นำไฟฟ้า หัวตรวจจับโลหะมีหลายชนิด แต่มีหลักการทำงานใกล้เคียงกัน คือ เมื่อเปิดเครื่อง กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปยัง ขดลวดโลหะที่ปลายหัวตรวจจับ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น โดยมีขั้วอยู่ในแนวตั้งฉาก กับทิศทางของขดลวด หากสนามแม่เหล็กดังกล่าวไปกระทบกับวัตถุที่นำไฟฟ้าได้ดี เช่น โลหะ จะกระตุ้นให้วัตถุดังกล่าวนั้น เกิดสนามแม่เหล็กอ่อนๆ ในทิศทางตรงข้ามกัน ทำให้สนามแม่เหล็กที่สะท้อนกลับมา สู่หัวตรวจจับเกิดการเปลี่ยนเฟส ยิ่งวัตถุมีการนำไฟฟ้าดีมากขึ้น การเปลี่ยนเฟสก็มากขึ้นตามด้วย จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้สามารถทราบได้ว่า มีวัตถุที่ทำจากโลหะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่

เครื่องตรวจจับโลหะส่วนใหญ่ สามารถตรวจจับวัตถุที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหน้า 8-12 นิ้ว ความสามารถในการตรวจจับวัตถุ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ นอกจากชนิดและความไวของหัวตรวจจับแล้ว ชนิดของโลหะ ก็มีผลต่อการตรวจจับด้วย โลหะบางชนิด เช่น เหล็ก สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้แรงกว่าโลหะอื่น การตรวจจับจึงทำได้ง่าย ขนาดของวัตถุก็มีส่วนสำคัญ วัตถุที่มีขนาดเล็กถูกตรวจจับได้ยากกว่าวัตถุขนาดใหญ่ เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงสามารถพกเหรียญ หรือลูกกุญแจเข้าไปได้ โดยที่เครื่องตรวจจับ ไม่ส่งสัญญาณเตือนแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีวัตถุที่สามารถป้องกันสนามแม่เหล็ก ไม่ให้ผ่านไปถึงวัตถุที่จะตรวจจับหรือไม่ เป็นต้น เครื่องตรวจจับโลหะสมัยใหม่ นอกจากตรวจจับได้ว่า มีวัตถุที่ทำจากโลหะได้แล้ว ยังสามารถระบุขนาด และความลึกของวัตถุอย่างคร่าวๆ ได้อีกด้วย

เครื่องตรวจจับโลหะ นอกจากใช้ในสนามบิน และตามอาคารสถานที่สำคัญ เพื่อการรักษาความปลอดภัยแล้ว ยังมีการนำไปใช้ในงานด้านอื่นได้อีก เช่น ใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของท่อ หรือสายเคเบิลที่ฝังอยู่ในอาคาร ตรวจหาส่วนประกอบโลหะในดินหรือหิน รวมทั้งใช้ในการสืบหาวัตถุโบราณ ที่ทำจากโลหะที่ฝังอยู่ใต้ดิน เพื่อประโยชน์ในทางโบราณคดีได้อีกด้วย

Metal Detector
Metal Detector