Excel XL830L Digital 3 1/2 LCD Voltmeter Ammeter Ohmmeter Multimeter

Excel XL830L

คุณสมบัติของ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ Digital Multimeter Excel XL830L

– การใช้งานแบบผู้ใช้ปรับย่านเอง ย่านวัดเป็นแบบลูกบิดปรับหมุนเลือกย่านวัด

– ช่องเสียบสายโพรบวัดสัญญาณ 10ADC ,COM ,VΩmA การใช้งานให้จำไว้ว่าตำแหน่ง com ให้เสียบสายสีดำเสมอ วัดกระแสให้นำสายสีแดงมาเสียบที่ 10ADC ส่วนการวัดค่าแรงดัน ความต้านทาน ไดโอด จะเสียบสายสีแดงที่ตำแหน่ง VΩmA

– ปุ่มล็อคค่าหน้าจอ(HOLD) เมื่อกดปุ่มจะเครื่องจะทำการล็อคค่าหน้าจอ และแสงผลที่หน้าจอ

– ปุ่มแสงไฟที่หน้าจอเป็นไฟ Back Light ใช้งานได้ในที่มืด แสงไฟมีสีเขียวมองเห็นได้ชัดเจน

– ช่องวัดทรานซิสเตอร์มีมาให้ด้วยใช้วัดอัตราการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์

– ย่านวัดแรงดันไฟ DC มีให้เลือกใช้ 200mV / 2V / 20V / 200V / 600V ความคาดเคลื่อนน้อยเพียง ± (0.5%)

– ย่านวัดแรงดันไฟ AC 200V / 600V ความคาดเคลื่อน ± (1.0%)

– ย่านวัด กระแสไฟDC 200μA / 2mA / 20mA / 200mA / 10A ความคาดเคลื่อน ± (1.0%)

– ย่านวัดค่าความต้านทาน 200Ω / 2kΩ / 20kΩ / 200Ω / 2MΩ ความคาดเคลื่อน ± (1.0%)

– ย่านวัดทรานซิสเตอร์ hFE วัดอัตราการขยายกระแสงตรงของทรานซิสเตอร์ใช้ร่วมกับช่องเสียบทรานซิสเตอร์

– ย่านวัดไดโอดมีแรงดันไฟdc อ่อนๆ สามารถใช้วัดตรวจเช็คได้โอดเสียได้ เช็คหลอดไฟledที่มีแรงดันฟอร์เวิร์ดต่ำๆได้ ใช้วัดหาขาของทรานซิสเตอร์ได้ทำให้รู้ว่าทรานซิสเตอร์เป็นแบบไหน npn หรือ pnp

– ความต้านทานอินพุท 1MΩ

– ใช้แบตเตอรี่ 9V, 6F22

– หน้าจอLCDแสดงตัวเลขได้ 1999

– หน้าจอขนาด 45 × 20 มิลลิเมตร

– ตัวเครื่องมีสีดำ มีพลาสติกกันกระแทกสีเหลืองห่อหุ้มซึ่งปกป้องตัวเครื่องมิเตอร์ไม่ให้เสียหาย

– ขนาด 145 × 70 × 40 มิลลิเมตร

– น้ำหนักของตัวเครื่อง 400g

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ Digital Multimeter Excel XL830L

เครื่องมีปุ่ม HOLD

เมื่อกดปุ่มนี้ก็จะหยุดตัวเลขค่าที่วัดได้ไว้ที่หน้าจอLCD ที่หน้าจอจะมีสัญลักษณ์ H โชว์ขึ้นมาจนกว่าจะกดเครื่องหมายHoldอีกครั้งถึงจะปลดล็อกค่า

สายโพรบที่ใช้เสียบจะสายสีดำจะเสียบที่ตำแหน่งCOMเสมอ เมื่อต้องการจะวัดค่าย่านใดก็ให้เสียบสายสีแดงลงไปที่ย่านนั้นๆ ที่ด้านล่างของช่องเสียบจะมีเขียนกำกับไว้ เครื่องทำงานได้ดีทีอุณหภูมิ 0-40องศาเซลเซียส

ย่านวัด DC Voltage

ย่านวัดแรงดันไฟกระแสตรงมีย่านวัด 200mv,2v,20v,200v,600v สามารถวัดแรงดันไฟdcได้สูงสุดถึง600v ต่อสายวัดให้ถูกต้องโดยสายสีดำให้อยู่ที่ตำแหน่งcomเสมอ สายสีแดงให้อยู่ที่ตำแหน่ง v-ohm-mA ปรับย่านวัดให้มีค่าสูงๆไว้ก่อนหากเราไม่ทราบค่าโดยประมาณของแรงดันที่ต้องการวัด จากนั้นให้นำสายโพรบสีแดงไปจับที่ขั้วบวกและสีดำจับที่ขั้วลบเพื่อวัดแรงดันที่แหล่งจ่ายไฟหรือในวงจรไฟฟ้า

ย่านวัดแรงดันไฟ ac

ก่อนใช้งานเช็คสายโพรบสีแดงให้อยู่ในช่องเสียบv-ohm-mA และสายสีดำอย

ที่ตำแหน่งcomเสมอ จากนั้นปรับย่านวัดไปที่การวัดแรงดันไฟกระแสสลับให้ปรับที่ย่านสูงสุดเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้มิเตอร์เสียหายจากการวัดแรงดันไฟสูงๆ แล้วใช้สายวัดสีแดงและดำวัดค่าแรงดันไฟได้ทันที

ย่านวัดความต้านทาน resister

มิเตอร์รุ่นนี้มีย่านวัดค่าความต้านทาน200โอห์ม,2K,20K,200K,2M ก่อนการวัดให้เช็คตำแหน่งของสายโพรบให้ถูกต้องก่อนการใช้งานด้วยให้สายโพรบสีแดง อยู่ที่ตำแหน่งV-ohm-mA และสายโพรบสีดำอยู่ที่ตำแหน่งcomเสมอ ปรับย่านวัดไปที่การวัดค่าความต้านทาน จากนั้นจึงเริ่มทำการวัดหาค่าความต้านทานได้ โดยนำสายโพรบไปวัดหาค่าความต้านทานที่ตกคร่อมตามจุดต่างๆของวงจรได้เลย หรือจะเช็คค่าความต้านทานของตัวรีซิสเตอร์จากภายนอกก็สะดวกเช่นกัน ตัวresisterไม่มีขั้วเราสามารถวัดด้านไหนก็ได้ แต่การวัดตัวต้านทานไม่ควรใช้มือจับโดนขาทั้งสองข้างเพราะจะทำให้ค่าผิดเพี้ยนไปจากความจริง

ย่านวัดไดโอด

ย่านวัดไดโอดจะอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกับย่านวัดค่าความต้านทานที่ตำแหน่ง2k ย่านนี้จะมีการปล่อยแรงดันไฟออกมา2.90v-3V สามารถนำแรงดันไฟที่ได้มาใช้วัดแรงดันฟอร์เวอร์ตัวไดโอดได้สามารถตรวจเช็คไดโอดเสียได้โดยการดูช่วงแรงดันฟอร์เวอร์และแรงดันรีเวิร์ส ซึ่งแรงดันฟอร์เวิร์ดของตัวไดโอดปกติจะอยู่ในช่วง0.5-0.8v และถ้าวัดแรงดันรีเวิร์ดโดยการสลับขั้ววัดที่ดิจิตอลมิเตอร์จะต้องแสดงเลข”1″ ถ้าแรงดันไม่อยู่ในช่วง0.5-0.8 ถ้าค่าที่วัดได้แตกต่างจากค่าของช่วงปกติมากสันนิฐานได้ว่าไดโอดอาจจะเสีย เราสามารถนำแรงดันมาใช้ตรวจสอบLEDและตรวจหาขาของทรานซิสเตอร์ได้อีกด้วย

ย่านวัดที่มีสัญลักษณ์เป็นเสียง

ย่านนี้ใช้วัดสายไฟขาด ลายวงจรขาด หรือค้นหาจุดเชื่อมต่อกัน ย่านนี้จะมีแรงดันไฟออกมาจากสายโพรบสีแดงเป็นบวกสีดำเป็นลบ แรงดันที่ออกมาจะมีแรงดันประมาณ2.90-3v สมมุติว่าเราสงสัยว่าสายไฟจะขาดหรือหักใน ให้เราปรับมาที่ย่านนี้แล้วนำสายโพรบไปจับที่ปลายสายไฟทั้งสองข้าง หากมีเสียงดังแสดงว่าสายไฟไม่ขาด

ย่านวัด hFE

ย่านนี้จะใช้วัดอัตราการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ จะใช้ควบคูกับช่องเสียบขาที่มีมาให้บนตัวเครื่อง การใช้งานให้เราเสียบขาให้ตรงตามชนิดของตัวทรานซิสเตอร์ เครื่องก็จะแสดงค่าอัตราการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ออกมาที่หน้าจอlcd โดยที่เราไม่ต้องใช้สายโพรบมาวัด

ย่านวัดกระแสไฟ dc

ย่านนี้สามารถวัดไฟกระแสตรงได้ย่านวัดที่มีมาให้200ไมโครแอมป์,2mA,20mA,200mA,10A การใช้งานต้องเสียบสายวัดสีแดงที่ตำแหน่ง10ADCและสายสีดำอยู่ที่ตำแหน่งcomเสมอ ปรับย่านวัดที่สูงสุดแล้วต่ออันดับกับวงจรที่ต้องการวัดแล้วทำการวัดค่า

ปุ่ม Back light

ปุ่มนี้เป็นแสงไฟส่องสว่างมีประโยชน์ทำให้มองเห็นค่าที่วัดได้ในสถานที่ ที่มีความสว่างน้อยมองไม่ค่อยชัดก็สามารถกดปุ่มนี้เพื่อเปิดไฟได้ แสงไฟจะมีสีเขียวเมื่อกดเปิดไฟแบคไลท์่เครื่องไฟback lightจะดับเองเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ5วินาที เพื่อเป็นการประหยัดแบตเตอรี่

Digital Multimeter

Multimeter

Digital Multimeter เป็นมัลติมิเตอร์อีกชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านดิจิตอล โดยการรวมเอาดิจิตอลโวลต์มิเตอร์ (Digital Voltmeter) ดิจิตอลแอมมิเตอร์ (Digital Ammeter) และดิจิตอลโอห์มมิเตอร์ (Digital Ohmmeter) เข้าด้วยกัน ใช้การแสดงผลการวัดค่าด้วยตัวเลข ช่วยให้การวัดค่าและการอ่านค่ามีความถูกต้องมากขึ้นและยังช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากการอ่านค่าได้ เกิดความสะดวกในการใช้งาน

มัลติมิเตอร์ดิจิตอล

มัลติมิเตอร์ สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้หลายประเภท เช่นเดียวกับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม นอกจากนี้ยังสามารถวัดปริมาณกระแสสลับ วัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุไฟฟ้าและตรวจสอบไดโอดได้อีกด้วย

มัลติมิเตอร์สามารถวัดค่าปริมาณไฟฟ้าได้หลายชนิดเช่นเดียวกับ มัลติมิเตอร์ชนิดเข็มชี้ เช่น วัดแรงดันไฟตรง (DCV) แรงดันไฟสลับ (ACV) กระแสไฟตรง (DCA) กระแสไฟสลับ (ACA) และความต้านทาน เป็นต้น นอกจากนี้ในดิจิตอลมัลติมิเตอร์บางรุ่นยังมีความสามารถเพิ่มมากขึ้นไปอีก สามารถวัดค่าปริมาณไฟฟ้าอื่นๆ นอกเหนือจากค่าปกติได้ เช่น วัดการต่อวงจรแสดงด้วยเสียงได้ วัดอุณหภูมิได้ วัดความถี่ได้ วัดค่าความจุของตัวเก็บประจุได้ วัดอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ (hFE) ได้ และวัดขาทรานซิสเตอร์ได้ เป็นต้น

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ แบบย่านวัดอัตโนมัติ

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบย่านวัดอัตโนมัติ ปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิดที่จะวัดค่ามีย่านตั้งวัดเพียงย่านเดียว สามารถใช้วัดปริมาณไฟฟ้าตั้งแต่ค่าต่ำๆ ไปจนถึงค่าสูงสุดที่เครื่องสามารถแสดงค่าออกมาได้ ใช้งานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว รูปร่างและส่วนประกอบของดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบย่านวัดอัตโนมัติแบบหนึ่ง

Digital Multimeter แบบย่านวัดปรับด้วยมือ

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบย่านวัดปรับด้วยมือ ผู้ใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะต้องเป็นผู้ปรับเลือกย่านวัดให้เหมาะสมกับค่าปริมาณไฟฟ้าที่วัด หากปรับค่าไม่ถูกต้องดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะไม่สามารถแสดงค่าการวัดออกมาได้ การใช้งานคล้ายมัลติมิเตอร์แบบเข็ม แตกต่างเพียงดิจิตอลมัลติมิเตอร์เมื่อวัดค่าสามารถแสดงค่าปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้เป็นตัวเลขออกมาเลย รูปร่างและส่วนประกอบของดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบย่านวัดปรับด้วยมือแบบหนึ่ง

ส่วนประกอบของ Digital Multimeter

1. หน้าจอแสดงผล โดยจะแสดงผลเป็นตัวเลข

2. ปุ่มปรับค่าต่างๆ เช่น เลือกตำแหน่งจุดทศนิยม เป็นต้น

3. สัญลักษณ์แสดงช่วงการวัดแต่ละช่วง

4. ปุ่มตั้งช่วงการวัด

5. ช่องสำหรับเสียบสายวัดสำหรับวัดความต่างศักย์ (V) ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ, ความต้านทาน(W)

6. ช่องสำหรับเสียบสายวัด Output

7. ช่องสำหรับเสียบสายวัดกระแส ในหน่วย mA และ mA ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ

8. ช่องเสียบสายวัดสำหรับวัดกระแสไฟฟ้าสลับสูงสุด

ข้อควรระวังและการเตรียมสำหรับการวัด

1. ก่อนการวัดปริมาณใด ต้องแน่ใจว่า
1) บิดสวิตซ์เลือกการวัดตรงกับปริมาณที่จะวัด
2) สวิตซ์เลือกการวัดอยู่ในช่วงการวัดที่เหมาะสมไม่ต่ำกว่าปริมาณที่จะวัด
ในกรณีที่ไม่ทราบปริมาณที่จะวัดมีค่าอยู่ในช่วงการวัดใด ให้ตั้งช่วงการวัดที่มีค่าสูงสุดก่อน
แล้วค่อยลดช่วงการวัดลงมาทีละช่วง
2. เนื่องจากช่องเสียบสายวัด (สีแดง) มีหลายช่อง คือ V-, mA และ 10 A ต้องแน่ใจว่าเสียบสายวัดสีแดงในช่องเสียบตรงกับปริมาณที่จะวัด
3. ในกรณีที่วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 25 VAC หรือ 60 VDC ขึ้นไป ระวังอย่าให้ส่วนใดของร่างกายแตะวงจรที่กำลังวัดจะเป็นอันตรายได้
4. ในขณะที่กำลังทำการวัด และต้องการปรับช่วงการวัดให้ต่ำลงหรือสูงขึ้นหรือเลือกการวัดปริมาณอื่น ให้ดำเนินการดังนี้
1) ยกสายวัดเส้นหนึ่งออกจากวงจรที่กำลังทดสอบ
2) ปรับช่วงการวัดหรือเลือกการวัดปริมาณอื่นตามต้องการ
3) ทำการวัด
5. การวัดปริมาณกระแสสูง (~10A) ควรใช้เวลาวัดในช่วงสั้นไม่เกิน 30 วินาที
6. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ให้เลื่อนสวิตซ์ปิด-เปิด มาที่ OFF ถ้าไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน ควรเอาแบตเตอรี่ออกด้วย

ทำความรู้จัก “ดิจิตอลมัลติมิเตอร์

มัลติมิเตอร์ คืออะไร?

มัลติมิเตอร์ ถือว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับงานด้านอิเล็คทรอนิกส์ เพราะว่าเป็นเครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องวัดค่าเหล่านั้นทั้งสิ้น มัลติมิเตอร์เป็นการรวม โวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ และ โอห์มมิเตอร์ ไว้ในตัวเดียวกัน และใช้มูฟเมนต์ตัวเดียว จึงเรียก “VOM” (Volt-Ohm-Milliammeter) นอกจากนี้ VOM ยังสามารถนำไปวัดค่าอื่น ๆ ได้อีก เช่น วัดอัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ วัดค่าความดัง ฯลฯ

Multimeter จัดเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญและเป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานของวิศวกร, ช่าง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการวัดค่าทางไฟฟ้าพื้นฐานต่างๆ เช่น กระแส, แรงดัน, ตัวต้านทาน เป็นต้น โดยมัลติมิเตอร์ แบ่งเป็นประเภทหลักได้ 2 ประเภท ได้แก่

1. ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeter)
2. อนาล็อกมัลติมิเตอร์ (Analog Multimeter)

มัลติมิเตอร์ ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน บางคนชอบแบบเข็มชี้ เพราะว่ามองเห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างชัดเจน ต่างกับแบบดิจิตอลซึ่งตัวเลขจะวิ่ง สังเกตค่าตัวเลขที่แน่นอนได้ยาก ยกเว้น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ บางรุ่นที่สามารถอ่านค่าตัวเลขออกมาได้ทันที สะดวกสบายไม่ต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ว่าวัดถูกหรือผิดเพราะว่ามีเครื่องหมาย บอกให้เสร็จ ส่วนแบบแอนาลอกจะมีปัญหาเรื่องนี้ และการไม่เป็นเชิงเส้นของสเกลด้วย

ส่วนประกอบภายนอกของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

analog multimeter

1.สกรูปรับเข็มชี้ให้ตรงศูนย์
2.ย่านการวัดต่างๆ
3.ขั้วต่อขั้วบวก (+)ใช้ต่อสายวัดสีแดง
4.ขั้วต่อขั้วลบ (-)ใช้ต่อสายวัดสีดำ
5.ขั้วต่อเอาต์พุตเพื่อวัดความดัง
6.ปุ่มปรับ 0โอห์ม
7.สวิตช์ตัวเลือกย่านการวัด
8.เข็มชี้

ส่วนประกอบที่สำคัญของ มัลติมิเตอร์ แบบดิจิตอล

มัลติมิเตอร์

1. จอแสดงผล
2. สวิตซ์เปิด-ปิด
3. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและช่วงการวัด สามารถเลือกการวัดได้ 8 อย่าง ดังนี้
3.1 DCV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง มี 5 ช่วงการวัด
3.2 ACV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ มี 5 ช่วงการวัด
3.3 DCA สำหรับการวัดปริมาณกระแสตรง มี 3 ช่วงการวัด
3.4 ACA สำหรับการวัดปริมาณกระแสสลับ มี 2 ช่วงการวัด
3.5 สำหรับการวัดความต้านทาน มี 6 ช่วงการวัด
3.6 CX สำหรับการวัดความจุไฟฟ้า มี 5 ช่วงการวัด
3.7 hFE สำหรับการวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
3.8 สำหรับตรวจสอบไดโอด
4. ช่องเสียบสายวัดร่วม ใช้เป็นช่องเสียบร่วมสำหรับการวัดทั้งหมด (ยกเว้นการวัด CX และ hFE ไม่ต้องใช้สายวัด)
5. ช่องเสียบสายวัด mA สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 0-200 mA
6. ช่องเสียบสายวัด 10A สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 200 mA-10A
7. ช่องเสียบสำหรับวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
8. ช่องเสียงสำหรับวัดความจุไฟฟ้า
9. ช่องเสียบสายวัด V